คุณสมบัติทางกายภาพของน้ำมันไฮดรอลิค

คุณสมบัติของน้ำมันเป็นสิ่งที่เราต้องตรวจสอบว่า น้ำมันไฮดรอลิคมีประสิทธิภาพพลังงานมากน้อยเพียงใดและมีอายุการใช้งานเท่าใด โดยคุณสมบัติที่สำคัญของน้ำมันไฮดรอลิคมีดังนี้
1. ความหนืด ( Viscosity ) คือ ของเหลวที่เป็นความต้านทานภายในต่อการไหลของของเหลว มีความหนืดสูงจะไหลได้ช้ากว่าของเหลวที่มีความหนืดน้อยเพราะของเหลวที่มีความหนืดมากจะมีแรงต้านทานการไหลมากกว่า ซึ่งเรียกว่า ความหนืดสัมบูรณ์ (Absoluite viscosity) หรือความหนืดไดนามิก (Dynamic viscosity)
เนื่องจากความหนืดของน้ำมันไฮดรอลิคจะเปลี่ยนแปลงเมื่อระบบทำงาน กล่าวคือเมื่อความหนืดลดลงประสิทธิภาพของระบบก็จะลดลงด้วย ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น
เกิดการรั่วซึมในวาล์วและชิ้นส่วนการทำงาน
เกิดการรั่วซึมที่ปะเก็นและซีลบนรอยต่อระหว่างชิ้นส่วน
ทำให้ชิ้นส่วนในขณะทำงานสึกหรอเร็ว
เมื่อระบบรับโหลดมากๆ อุปกรณ์ต่างๆ จะสึกหรอเร็ว
ประสิทธิภาพของปั๊มอาจลดลง
ถ้าน้ำมันไฮดรอลิคมีความหนืดมากเกินไป จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของระบบ กล่าวคือ
แรงเสียดทานในการไหลจะเพิ่มสูงขึ้น
- ทำให้ความดันของทั้งระบบลดลงและต้องใช้กำลังงานเพิ่มขึ้น
- การทำงานของระบบช้าและเสื่อมลง
- ความฝืดมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในอุณหภูมิต่ำ
- ลดประสิทธิภาพของชุดเครื่องยนต์ เนื่องจากเกิดการสูญเสียกำลังมากขึ้น
- ปั๊มดูดน้ำมันได้ยากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพของปั๊มลดลง
- เกิดเสียงดังมากขณะที่ระบบทำงาน
- อากาศไม่สามารถแยกตัวจากน้ำมันในถังพักได้
2. ดัชนีความหนืด (Viscosity index) เป็นตัวเลขที่จะแสดงค่าการเปลี่ยนแปลงของค่าความหนืดต่อเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป น้ำมันเครื่องที่มีค่าดัชนีความหนืดสูงจะเปลี่ยนแปลงความหนืดได้น้อยกว่าน้ำมันที่มีค่าดัชนีความหนืดต่อยู่แล้ว น้ำมันต่างๆ ก็จะมีค่าดัชนีความหนืดอยู่ระหว่าง 0-100 VI แต่น้ำมันในปัจจุบันมีค่าดัชนีความหนืดสูงกว่า 100 โดยการเติมสารโพลีเมอร์ ลงไปในน้ำมันพื้นฐานนั้นเอง
3. จุดข้นแข็ง (Pour point ) ซึ่งเป็นจุดที่มีอุณหภูมิต่ำสุดที่น้ำมันไฮดรอลิคจะไหลไปได้ จุดข้นแข็งของน้ำมันไฮดรอลิคควรมีค่าที่ต่ำกว่าอุณหภูมิที่ระบบทำงาน โดยสำหรับเกณฑ์ทั่วไปคือจะอยู่ที่ 20 องศาฟาเรนไฮน์ก่อนจะถึงอุณหภูมิต่ำสุดที่ระบบทำงาน
Cr. ผลิตภัณฑ์ YUKON LUBRICANTS
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น